วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หน้าที่มนุษยชน กับ บทเรียนจากเอดส์

"สถานการณ์เอดส์โลกยังไม่ได้ลดความรุนแรงลงเลยนะคะ เพราะจากรายงานขององค์การสหประชาชาติระบุว่าในปี 2005 ที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้นทั่วโลกถึงเกือบ 5 ล้านคนทำให้ในขณะนี้มีผู้ติดเชื้อเอดส์ทั่วโลกกว่า 40 ล้านคน และในปีดังกล่าวก็มีประชากรที่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ถึง 3.1 ล้านคนซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็กถึง 570,000 คน นับเป็นจำนวนที่สูงมากทีเดียวนะคะ สถิติที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งก็คือ ผู้หญิงทั่วโลกติดเอดส์เพิ่มขึ้นจำนวนมากเช่นกัน โดยในปีที่ผ่านมาพบว่ามีผู้หญิงทั่วโลกที่ติดเชื้อเอดส์สูงถึง 17.5 ล้านคน ที่สำคัญคือเป็นหญิงมีครรภ์จำนวนมากด้วย ทั้งนี้ จากรายงานดังกล่าวยังระบุว่า จากจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์รายใหม่ทั่วโลกนั้น ส่วนใหญ่เป็นประชากรในภูมิภาคซับ-ซาฮารา ทวีปอัฟริกา โดยในภูมิภาคนี้มีผู้ติดเชื้อเอดส์จำนวน 25.8 ล้านคน หรือ 64 % ของทั้งหมด ที่สำคัญคือในกลุ่มประเทศซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปอัฟริกานั้น มีหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์ในอัตราสูงกว่า 30 % และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย จึงเป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่งว่าในอนาคตต้องมีเด็กที่ติดเชื้อเอดส์อีกจำนวนมาก โดยที่พวกเขามิได้รู้อิโหน่อิเหน่อะไรจากสิ่งที่พ่อแม่ได้กระทำไว้เลย เนื่องจากมีผู้หญิงจำนวนมากมายที่ต้องติดเชื้อจากสามีที่ไปเที่ยวโสเภณี และเมื่อตนเองติดเชื้อแล้ว ภายหลังเมื่อตั้งครรภ์ก็ส่งผ่านเชื้อนั้นไปยังลูกในครรภ์ด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง"(ธัญญลักษณ์ เหล็กพิมาย)

กรณีการระบาดของไข้หวัดนก ซาร์ sars ทั่วโลกมีการตื่นตัวในการคัดกรองนักเดินทาง การอนุญาตให้เดินทางออกนอกหรือเข้าประเทศเป็นเรื่องใหญ่ ฯลฯ

ขณะที่เอดส์ในยุคเริ่มแรก กลับได้รับการปฏิบัติต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง

อย่างน้อยในยุคแรกสุด ที่พบคนเป็นเอดส์ไม่ถึง 10 คน ประเทศต่างๆทั่วโลกกลับให้ "สิทธิเสรีภาพ"ในการเดินทางข้ามประเทศอย่างเสรี  ทั้งที่เสรีภาพอันนั้นกำลังเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสิทธิพลเมืองของประเทศต่างๆ ก็ตัวเลขผู้ป่วยโรคเอดส์ 40 ล้านคน เป็นพยานหลักฐานถึงภัยคุกคามที่มิได้ป้องกันอย่างเพียงพอมิใช่หรือ?

ความจริงแม้ ประเทศต่างๆไม่ใช้ สิทธิป้องกันตนเอง คือ ห้ามมิให้ผู้ป่วยโรคเอดส์เข้าประเทศ แ่ต่หากผู้ป่วยโรคเอดส์มีจิตสำนึกด้วยตนเองว่า ตนเองในฐานะเป็นมนุษย์ แม้เดินทางไปประเทศต่างๆได้ก็ไม่ควร "สมสู่" ให้โรคเอดส์แำพร่ระบาด ฯลฯ

ยิ่งกว่านั้น หากพวกเขาเหล่านั้นคือมี"สำนึก"ในหน้าที่ หรือพันธะกรณีที่ตนเองมีต่อเพื่อนมนุษย์ ที่เรียกว่า "หน้าที่มนุษยชน"  คือ การป้องกันหรือปกป้องสิทธิในชีวิตหรือร่างกายของมนุษย์คนอื่นๆ ด้วยการริเริ่มจำกัดสิทธิเสรีภาพบางประการของตนเอง..อย่างนี้ชื่อว่าเขาเหล่านั้นเป็น"มนุษย์ที่ยิ่งใหญ่" ควรค่าแก่การเคารพ เทอดทูน แม้ป่วยเป็นเอดส์ แต่ก็ถือว่าได้ทำหน้าที่และผู้เสียสละ เป็น "วีรบุรุษ" เป็น "วีรสตรี"ของ "มนุษย์โลก"

และมนุษย์โลกก็คงชื่นชมในความกล้าหาญและเสียสละเหล่านั้น  รวมถึงยินดีจ่ายเงินสนับสนุนเพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาเหล่านั้นมีคุณภาพสูงที่สุด เท่าที่คนป่วยจะมีได้

อย่างไรก็ตาม ในเมื่อสถานการณ์เอดส์ลุกลามเกินเยียวยาแล้ว  และ เราย้อนเวลากลับไปป้องกันไม่ได้ แต่ปัญหาการระบาดของเอดส์ก็ยังมีประโยชน์ในแง่ของการเป็น อุทธาหรณ์ สำหรับการป้องกันเหตุร้ายในอนาคต  ซึ่งอาจเป็นโรคร้ายแรงกว่า...เอดส์  

ก็ถือเสียว่าแนวคิด "หน้าที่มนุษยชน"จะเป็นคำแรกๆที่เราระลึกถึง หากเป็นทางออกสุดท้ายที่เรา"จำเป็นต้องเลือก"ในการป้องกันหรือแก้ปัญหาร้ายแรงบางประการในอนาคต

พูดก็พูดเถอะ ใครที่สอนเรื่องสิทธิและเสรีภาพ มักเป็นที่ชื่นชอบของฝูงชน เพราะเป็นเรื่องของ "การรับ"และได้ คือ ได้ประโยชน์ ดังนั้นคนที่พูดหรือสอนเรื่องเหล่านี้ จึงได้ดี มีหน้ามีหน้าในสังคมไปแล้วหลายคน

แต่ในเรื่องหน้าที่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องอดทน และเป็นเรื่องของ"การจ่าย"ออกไป  คนหมู่มากย่อมไม่ชอบ และคนสอนเรื่องเหล่านี้กลายเป็นคนที่น่าเบื่อ...ไม่มีใครอยากฟัง เพราะมีแต่ข้อเรียกร้องเอาจากทุกคน ขณะที่นักสิทธิมนุษยชนเป็นประเภทพี่นี้มีแต่ให้  แต่สุดท้ายแล้วคนป่วย 40 ล้านคน เป็นผู้รับเคราะห์กรรมที่สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้ ก็เลยไม่รู้ว่า นักสิทธิมนุษยชน คือ นักบุญคนบาป หรือไม่?

ดังนั้น ใครควรน่าบูชากว่ากัน ระหว่างคนป้องกันปัญหา กับ คนที่ตามแก้ปัญหา

แถมท้าย(เพิ่งค้นพบข้อมูล)
ประชาธิปไตย”  เบื้องต้นสำหรับสามัญชน โดย ปรีดี พนมยงค์
ความหมายของคำว่า  “ประชาธิปไตย” คำว่า  “ประชาธิปไตย”  ประกอบด้วยคำว่า  “ประชา”  หมายถึงหมู่คนคือปวงชน  กับคำว่า  ”อธิปไตย” หมายถึงความเป็นใหญ่ คำว่า  “ประชาธิปไตย”  จึงหมายถึง  “ความเป็นใหญ่ของปวงชน”

ราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายของคำว่า  “ประชาธิปไตย”  ไว้ในหนังสือพจนานุกรมของทางราชการว่า “แบบการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่”

ทั้งนี้พึงเข้าใจว่าการที่ปวงชนจะมีความเป็นใหญ่ในการแสดงมิติได้ก็จำเป็นที่ชนทุกคนรวมกันเป็นปวงชนนั้นต้องมี    “สิทธิและหน้าที่ของมนุษยชน”  อันเป็นสิทธิและหน้าที่ตามธรรมชาติของทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์  คือ  สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคซึ่งมนุษย์จะต้องใช้พร้อมกันกับหน้าที่  มิให้เกิดความเสียหายแก่เพื่อมนุษย์อื่นและหมู่คนอื่นหรือปวงชนเป็นส่วนรวม  ถ้าชนส่วนมากซึ่งเป็น  “สามัญชน”  ถูกตัดสิทธิมนุษยชนโดยให้มีหน้าที่แต่อย่างเดียว  สามัญชนก็มีลักษณะเป็นทาส  หรือข้าไพร่ของชนส่วนน้อยซึ่งมีสิทธิใหญ่ยิ่งหรือ  “อภิสิทธิ์ชน” แบบการปกครองจึงไม่ใช่ประชาธิปไตย  ถ้าสามัญชนมีสิทธิมนุษยชนอย่างเดียว  โดยไม่มีหน้าที่มนุษยชนแบบการปกครองก็เกินขอบเขตของประชาธิปไตย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น